เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 5. สัมมสนญาณนิทเทส
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันว่า “ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่า
สัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี
ชาติก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี
ฯลฯ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี ฯลฯ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ
จึงมี เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ
สัมมสนญาณนิทเทสที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :76 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 6. อุทยัพพยญาณนิทเทส
6. อุทยัพพยญาณนิทเทส
แสดงอุทยัพพยญาณ
[49] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็น
ปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่งรูปนั้น ชื่อว่าความเกิด
ขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งรูปนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้
ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ
เวทนาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สัญญาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สังขารที่เกิดแล้ว ฯลฯ วิญญาณ
ที่เกิดแล้ว ฯลฯ
จักขุที่เกิดแล้ว ฯลฯ ภพที่เกิดแล้ว เป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่ง
ภพนั้น ชื่อว่าความเกิดขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งภพนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม
ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ
[50] พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ 25
ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ 25 ประการ เมื่อ
เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ 50 ประการ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อ
เห็นความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ
แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อม
(แห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :77 }